ความหมายของนาฏศิลป์ไทย



นาฏศิลป์ไทย หมายถึง ศิลปะการแสดงประกอบดนตรี เช่น ฟ้อน รำ ระบำโขนหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ นิสัยใจคอของคนในท้องถิ่นนั้นๆหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตามโดยอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย




Image result for thai dance


ที่มาของนาฏศิลป์ไทย     
                ที่มาของนาฏศิลป์ไทยเข้าใจว่าเกิดจากสภาพความเป็นอยู่โดยธรรมชาติของมนุษย์โลกที่มีความสงบสุข  มีความอุดมสมบูรณ์ในทางโภชนาหาร  มีความพร้อมในการแสดงความยินดี  จึงปรากฏออกมาในรูปแบบของการแสดงอาการที่บ่งบอกถึงความกำหนัดรู้  ดังนั้นเมื่อประมวลที่นักวิชาการเทียบอ้างตามแนวคิดและทฤษฎี  จึงพบว่าที่มาของนาฏศิลป์ไทยเกิดจากแหล่ง ๓  แหล่ง  คือ  เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ   เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา  และเกิดจากการรับอารยะธรรมของประเทศอินเดีย  ดังนี้
๑.  เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ    หมายถึง   เกิดตามพัฒนาการของความเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มชน  ซึ่งพอประมวลความแบ่งเป็นขั้น  ได้ ๓  ขั้น  ดังนี้
ขั้นต้น  เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน
ขั้นต่อมา  เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก  เป็นต้น
ต่อมาอีกขั้นหนึ่งนั้น  เมื่อเกิดปรากฏการณ์ตามที่กล่าวในขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒  แล้วมีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน จนเกิดเป็นวิวัฒนาการของนาฏศิลป์ที่สวยงามตามที่เห็นในปัจจุบัน
๒.  เกิดจากการเซ่นสรวงบูชา  หมายถึง  กระบวนการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มชน  ซึ่งพบว่าการเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชา  มีวิธีการตามแต่จะยึดถือมักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร  ขนมหวาน ผลไม้  ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป
๓.  การรับอารยะธรรมของอินเดีย  หมายถึง  อิทธิพลของประเทศเพื่อนบ้านจากประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่ยาวนานว่า เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยะธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยะธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปะการแสดง ได้แก่ ระบำ ละครและโขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์มาตรฐานที่สวยงามดังปรากฏให้เห็นนี้เอง




ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม  โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
นาฏศิลป์ของไทย  แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ๆ  4 ประเภท คือ

1.โขน

โขนเป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยืนเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่างๆ

2.ละคร


ละครเป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว  มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน  ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ  เข้าบทร้อง  ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า  ละครโนราชาตรี  ละครนอก  ละครใน  เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ  พระสุธน  สังข์ทอง คาวี  อิเหนา  อุณรุท  นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด  การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์  เรียกว่า  การแต่งการแบบยืนเครื่อง  นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

3.รำ และ ระบำ


เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้
3.1  รำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง  ตั้งแต่  1-2  คน  เช่น  การรำเดี่ยว  การรำคู่  การรำอาวุธ  เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง  ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี  มีกระบวนท่ารำ  โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ  เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน  และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้นๆ  เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว  รำแม่บท  รำเมขลา –รามสูร  เป็นต้น

3.2 ระบำ
 หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนางหรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น

 4.การแสดงพื้นเมือง


เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
4.1  การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ  เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่  ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
Image result for โขน









Comments